ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Holy basil, Thai basil
Holy basil, Thai basil
Ocimum tenuiflorum L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Lamiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum tenuiflorum L.
 
  ชื่อไทย กะเพรา
 
  ชื่อท้องถิ่น - เหย้าจื่อเท่ง(ม้ง), กรุ่งครี้มว่อง(ปะหล่อง), กะเพรา(คนเมือง) - กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) ห่อกวอซู ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน) [7]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูง 30 – 60 ซม. ตามลำต้น และกิ่งมีขน โคนต้นมักจะแข็ง มีกลิ่นหอมแรง
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี หรือรีค่อนข้างยาว กว้าง 1 – 2.5 ซม. ยาว 3 – 6 ซม. ปลายแหลม หรือมน โคนแหลม หรือ แหลมเป็นครีบ ขอบเรียบ หรือจักห่าง ๆ มีขนทั้งสองด้าน มีขนมากตามเส้นใบด้านล่าง เนื้อใบบาง นุ่ม สีเขียวอมม่วงแดง
ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด หรือที่ปลายกิ่ง ยาว 8 – 10 ซม. ริ้วประดับรูปไข่ หรือรูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบมีขน ยาว 2 – 3 มม. ก้านดอกโค้ง ยาว 3 – 4.5 มม. มีขนยาว 2 – 3 มม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2.5 มม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นปาก ปากบนใหญ่กว้างและแบน ปากล่างแยกเป็นแฉกแหลม 4 แฉก แฉกกลาง 2 แฉก ยาวกว่าแฉกข้าง ด้านนอกมีต่อมและมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก สีขาวอมม่วง หรือสีม่วง เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นปาก ปากบนมีแฉกมน ๆ 4 แฉก ขนาดเกือบเท่ากัน ปากล่างโค้งลง แบน ขอบเรียบ เกสรเพศผู้มี 2 คู่ คู่บนยาวกว่าคู่ล่าง ก้านเกสรไม่ติดกัน ที่โคนก้านคู่บนมีติ่งสั้น ๆ และมีขน
ผล เล็ก ยาวประมาณ 1.2 มม. ปลายมน เกลี้ยง [7]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี หรือรีค่อนข้างยาว กว้าง 1 – 2.5 ซม. ยาว 3 – 6 ซม. ปลายแหลม หรือมน โคนแหลม หรือ แหลมเป็นครีบ ขอบเรียบ หรือจักห่าง ๆ มีขนทั้งสองด้าน มีขนมากตามเส้นใบด้านล่าง เนื้อใบบาง นุ่ม สีเขียวอมม่วงแดง
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด หรือที่ปลายกิ่ง ยาว 8 – 10 ซม. ริ้วประดับรูปไข่ หรือรูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบมีขน ยาว 2 – 3 มม. ก้านดอกโค้ง ยาว 3 – 4.5 มม. มีขนยาว 2 – 3 มม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2.5 มม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นปาก ปากบนใหญ่กว้างและแบน ปากล่างแยกเป็นแฉกแหลม 4 แฉก แฉกกลาง 2 แฉก ยาวกว่าแฉกข้าง ด้านนอกมีต่อมและมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก สีขาวอมม่วง หรือสีม่วง เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นปาก ปากบนมีแฉกมน ๆ 4 แฉก ขนาดเกือบเท่ากัน ปากล่างโค้งลง แบน ขอบเรียบ เกสรเพศผู้มี 2 คู่ คู่บนยาวกว่าคู่ล่าง ก้านเกสรไม่ติดกัน ที่โคนก้านคู่บนมีติ่งสั้น ๆ และมีขน
 
  ผล ผล เล็ก ยาวประมาณ 1.2 มม. ปลายมน เกลี้ยง [7]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบและยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น ผัด(ม้ง,ปะหล่อง,คนเมือง)
- ราก น้ำต้มกินเป็นยาขับเหงื่อในคนไข้โรคมาลาเรีย ใบ กินได้ ใช้แต่งรสและกลิ่นอาหาร ใบแห้งบดเป็นยานัตถุ์แก้คัดจมูก น้ำยางจากใบ กินเป็นยาขับเหงื่อ ขับระดู ขับเสมหะ หยอดหูแก้ปวด เป็นยาระบาย และสามารถฆ่าเชื่อโรคบางชนิดได้ ยาชงหรือน้ำต้มใบใช้บำรุงธาตุสำหรับเด็ก และแก้ตับอักเสบ ดอก กินกับน้ำผึ้งแก้หลอดลมอักเสบ เมล็ด กินแก้โรคทางเดินปัสสาวะ และไตอักเสบ [7]
- สรรพคุณความเชื่อ
เป็นยาแก้โรคท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง รักษาหูด บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน ไล่หรือฆ่ายุง ไล่แมลงวันทอง ประกอบอาหาร เพื่อดับกลิ่นคาว และช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม
ใบ รสเผ็ดร้อน บำรุงไฟธาตุ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ลมตานซาง ขับผายลม ทำให้เรอ แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน
รากและลำต้น รสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุ แก้ไข้สันติบาตร แก้ท้องอืด จกเสียด แก้พิษตานซาง [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง